วิธีแยกดู เพชรธรรมชาติสีแฟนซี กับ Lab Grown diamond

     ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน วิธีการตรวจสอบที่แม่นยำและใช้ได้ผลดีส่วนใหญ่นั้นต้องตรวจสอบกับเพชรที่มีขนาด 10 ตังค์ขึ้นไป มักให้ผลลัพธ์ที่ไม่คงที่กับการตรวจสอบเพชรขนาด 10 ตังค์ และหากเป็นไซส์ต่ำกว่า 5 ตังค์จะแทบไม่สามารถสรุปผลลัพธ์ได้เลย และ ยิ่งยากกว่าหากเพชรนั้นถูกฝังลงบนเครื่องประดับเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดีเรายังพอจะสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ด้วยวิธีดังนี้

 

การแยกดูด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์

     วิธีการโฟโตลูมิเนสเซนซ์ เป็นวิธีที่ทำให้เราสามารถระบุเพชรที่ปลูกในห้องปฏิบัติการได้ ไม่ว่าจะเป็นเพชรร่วง หรือ ถูกฝังลงบนตัวเรือนแล้ว แม้ว่าจะเม็ดจะมีขนาดเล็กได้ค่อนข้างรวดเร็วและแม่นยำ เบื้องต้นเราต้องมีเครื่องฉายหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบ 2 หลอด ซึ่งแต่ละหลอดจะให้กำเนิดแสงยูวีที่มีความยาวคลื่นต่างกัน

  • Long wave ความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร (การเรืองแสงแบบคลื่นยาว)
  • Short wave ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร (การเรืองแสงแบบคลื่นสั้น)

     ผลลัพธ์จากการฉายแสงของเพชรจากห้องปฏิบัติการจะแตกต่างจากเพชรธรรมชาติ ความแตกต่างนี้สามารถระบุได้เสมอที่ผิวนอกด้วยตาเปล่าไม่จำเป็นต้องดูภายในเนื้อ ซึ่งช่วยให้ระบุได้ง่ายขึ้นมาก อย่างไรก็ดีการเรืองแสงนี้อาจเรืองแสงได้เพียงเล็กน้อยในบางเม็ดทำให้สังเกตุเห็นได้ค่อนข้างยาก จะเป็นการดีกว่าหากเรามีกล้องขยายกำลังสูงเพื่อช่วยให้สังเกตุได้ง่าย จากประสบการณ์ของผู้เขียน การปิดไฟให้ห้องมืดที่สุดโดยให้มีแหล่งกำเนิดแสงเฉพาะหลอดตรวจสอบจะทำให้มองเห็นได้ง่ายขึ้นมาก

     เรื่องที่สำคัญที่สุดคือหลอดฟลูออเรสเซนต์คอนข้างอันตรายต่อผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้น ควรสวมถุงมือเสมอ และงดเว้นการตรวจสอบเป็นเวลานาน

เครื่อง-ตรวจ-เพชร-cvd-labgrowndiamond-uv

 

1. YELLOW LAB-GROWN DIAMONDS

    เพชรสีเหลืองนั้นเป็นเพชรที่ถูกผลิตจากห้องปฏิบัติการมากที่สุด และ ผลผลิตที่ได้มีกมีตำหนิน้อย เนื้อค่อนข้างสะอาด ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะดูจากตำหนิในเนื้อ เพชรสีเหลืองนั้นถูกผลิตขนาด 1-2 ตังค์ ออกมาเป็นจำนวนมากโดยส่วนใหญ่ถูกผลิตในจีน ทำให้เล็ดลอดการตรวจสอบจากเครื่องขนาดใหญ่บางรุ่นได้ง่าย

วิธีแยก

  1. เพชรธรรมชาติ จะเรืองแสงด้วยหลอด LW มากกว่าเรืองแสงด้วยหลอด SW 
  2. Yellow Lab grown diamond จะเรืองแสงด้วยหลอด SW มากกว่าเรืองแสงด้วยหลอด LW  

 

2. BLUE LAB-GROWN DIAMONDS

     เพชรที่ปลูกในห้องปฏิบัติการสีน้ำเงินมักมีตำหนิเยอะ ไม่ค่อยสะอาดเท่าใดนัก ด้วยปริมาณไนโตรเจนที่ต่ำทำให้เนื้อของผลผลิตค่อนข้างมีมิลทิน ส่งผลให้การเรืองแสงภายใต้หลอด SW นั้นมากกว่าหรือเท่ากับการเรืองแสงด้วยหลอด LW และ บางเม็ดนั้นจะเกิดการเรืองแสงได้ เพชรธรรมชาติ สีน้ำเงิน(ประเภท IIb) ก็มีโบรอนเช่นกันและแสดงพฤติกรรมเดียวกันได้ อย่างไรก็ตาม เพชรธรรมชาติสีน้ำเงิน (ประเภท la) ที่ปรับปรุงสี (โดยกระบวนการแผ่รังสีอิเล็กตรอน) จะยังคงแตกต่างจากเพชรจากห้องปฏิบัติการคือ ให้การเรืองแสงภายใต้หลอด LW ที่มากกว่าหรือเท่ากับการเรืองแสงด้วยหลอด SW

วิธีแยก

  1. เพชรธรรมชาติ จะมีการเรืองแสง ปานกลาง-มาก และ จะเรืองแสงด้วยหลอด LW ใกล้เคียงกับการเรืองแสงด้วยหลอด SW และ การเรืองแสงมักมีสี ขาว ฟ้า เหลือง
  2. Blue Lab grown diamond จะมีการเรืองแสงน้อย จะเรืองแสงด้วยหลอด SW มากกว่าหรือเท่ากับเรืองแสงด้วยหลอด LW การเรืองแสงมักมีสี ขาว ฟ้า เขียว หลังจากปิดไฟอาจมีการอมแสงไว้ที่เม็ดเพชร และ อาจมีตำหนิเป็นเศษโลหะปนเปื้อนในเนื้อเพชรได้

 

ตาราง-วิธี-ตรวจ-แยก-เพชร-cvd-uv-น้ำเงิน-แฟนซี

 

3. PINK LAB-GROWN DIAMONDS

     เพชรสีชมพูเป็นเพชรที่ปลูกในห้องปฏิบัติการโดยการผ่านการฉายรังสีอิเล็กตรอนตามด้วยการหลอม โครงสร้างการเติบโตนั้นไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในเพชรที่ปลูกในห้องปฏิบัติการสีชมพู เนื่องจากเพชรจะมีการเรืองแสงสีส้มที่เข้มมาก ซึ่งเกิดจากประบวนการการหลอมหลังจากการแผ่รังสีอิเล็กตรอน เพชรสีชมพูที่ปลูกในห้องปฏิบัติการต่างจากเพชรธรรมชาติโดยจะไม่แสดงการเรืองแสงสีเขียวหรือฟ้า ซึ่งหากโชคดีเราจะเห็นเศษโลหะจากกระบวนการผลิตหลงเหลือไว้ให้ตรวจสอบได้

     การเรืองแสงสีเขียวนั้นเกิดขึ้นจากการปรับปรุงสีในเพชรธรรมชาติสีชมพูเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเพชรธรรมชาติที่ผ่านการ Treatment ซึ่งมีไนโตรเจนปะปน เพชรธรรมชาติที่ผ่านการ Treatment ด้วย HPHT+ฉายรังสี+การเผา จะผ่านการฉายรังสีเพิ่มเติมมักจะเปลี่ยนจากการเรืองแสงสีเขียวเป็นสีชมพูอีกด้วย

วิธีแยก

  1. เพชรธรรมชาติ จะเรืองแสงด้วยหลอด LW และ SW เป็นสี ฟ้า เขียว ชมพู
  2. Pink Lab grown diamond จะเรืองแสงด้วยหลอด LW และ SW เป็นสี ส้ม แดง และมีความเข้มข้นมาก

ตาราง-วิธี-ตรวจ-แยก-เพชร-cvd-uv-พิ้งค์-แฟนซี

(สามารถอ่านบทความ วิธีปรับปรุงคุณภาพเพชร(Treatment) ได้ที่ลิ้งนี้)

 

เลือกชมเพชร CVD (Lab Grown Diamond) และ เครื่องประดับของเราได้ที่นี่

ผู้เขียนบทความ

ขออภัย! ไม่สามารถคัดลอกข้อความได้