วิธีแยกดูความแตกต่าง เพชรธรรมชาติ กับ เพชร CVD ด้วยเครื่องมือพื้นฐาน

     เนื่องด้วยเพชร CVD ก็เป็นเพชรแท้ประเภทหนึ่งไม่ต่างจากเพชรธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีวิธีในการจำแนกได้ค่อนข้างน้อยมาก และ เครื่องมือที่จำแนกได้ก็น้อยกว่าเพชรเลียนแบบประเภทอื่น ทั้งยังไม่สามารถจำแนกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จากการที่ผู้เขียนได้ทดลองส่งตรวจกับเครื่องมือที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตามแลปสถาบันทั่วไป พบว่ายังคงมีโอกาสผิดพลาดได้บ้าง อย่างไรก็ดีเรายังคงมีวิธีที่สามารถตรวจสอบเบื้องต้นด้วยเครื่องมือที่พอจะหาได้ และ สามารถแยกได้จริงตามเนื้อหาในบทความนี้

    เพชรแท้ CVD ที่ปลูกได้นั้น มีได้ทั้งสีเกือบขาวใส น้ำตาล ไปจนถึงดำ  ดังนั้นจึงต้องถูกนำไปผ่านกระบวนการ HPHT อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สีขาวขึ้น และ อาจมีธาตุอื่นเจือปนได้ เราจึงยังพอใช้คุณสมบัติเหล่านี้ในการจำแนกได้ นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้เล็กน้อยมากๆที่จะได้เพชรสีชมพู และ สีน้ำเงิน ซึ่งในบทความนี้ได้สรุปวิธีการจำแนก ทั้ง เพชรสีขาว และ สีแฟนซี ไว้ให้มากที่สุด

 

1. แยกดูด้วย กล้องจุลทรรศน์

     เพชรแท้ CVD โดยทั่วไปนั้นเนื้อค่อนข้างบริสุทธิ์จึงมีตำหนิน้อยมาก(ในระดับ vvs) บางเม็ดอาจไม่พบตำหนิเลย ต่างจาก HPHT ที่มักพบตำหนิได้บ่อยครั้ง โดยหากใช้กล้องจุลทรรศน์ส่อง เพชรแท้ CVD อาจพบตำหนิสีดำได้ มีลักษณะทึบแสง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผลึกคาร์บอนไม่ใช่ผลึกของเพชร กรณีนี้จะพบได้ในเพชรแท้ CVD บางเม็ด โดยตำหนิสามารถเกิดขึ้นได้ที่โพรงตามแนวขนานกับแนวการเติบโตของผลึก หรือ อาจมีตำหนิคล้ายจุดสีขาว-น้ำตาล เรียงตัวกันตามแนวตั้งฉากกับแนวการเติบโตของผลึกได้ สำหรับเม็ดที่ไม่พบตำหนิจึงไม่ควรสรุปด้วยวิธีนี้

ตำหนิ-เพชร-cvd-แยก-ดู-ตรวจ-ไฝดำ-คาไบร์

ตำหนิ-เพชร-cvd-แยก-ดู-ตรวจ-จุดดำ-เมฆ-หมอก

ตำหนิ-เพชร-cvd-แยก-ดู-ตรวจ-กล้องจุลทรรศน์-โซนสี

 

วิธีแยก

  1. เพชรธรรมชาติ ไม่มีเส้นแบ่งเขตสี, ไม่มีตำหนิไฝดำลากยาวคล้ายดาวหาง, ตำหนิไฝดำมักไม่เรียงตัวแนวยาวเป็นระเบียบ
  2. เพชร CVD อาจพบเจอเส้นแบ่งเขตสีบริเวณ Pavilian ใกล้ Culet, ไม่มีตำหนิไฝดำลากยาวคล้ายดาวหาง, ตำหนิไฝดำมีการเรียงตัวไปในทิศทางเดียวกัน

 

2. แยกดูด้วย หลอดอัลตราไวโอเลต (UV)

     ทำได้โดยการตรวจสอบผ่านเครื่องฉายแสง Ultraviolet ที่ประกอบด้วย 2 หลอด คือ คลื่นสั้น (Short wave,SW) และ คลื่นยาว (Long wave,LW) เพชรแท้ CVD จะแสดงปฏิกริยาต่อหลอด Ultraviolet คลื่นสั้น (Short wave,SW) ที่ความยาวคลื่น 254 nm. เป็นเฉดสีส้มอ่อน-ปานกลาง แต่ยังคงมีลักษณะเป็นสีส้ม โดยบางครั้งจะพบสีเขียวปะปน ซึ่งแตกต่างจากเพชรธรรมชาติส่วนใหญ่ ที่ไม่พบสีส้ม และ เพชรแท้ CVD ยังมีปฏิกริยาต่อแสงในคลื่นสั้น (Short wave,SW) มากกว่า คลื่นยาว (Long wave,LW) เล็กน้อย

ตำหนิ-เพชร-cvd-แยก-ดู-ตรวจ-uv-เรืองแสง-ส้ม

     แต่ในปัจจุบันเพชรแท้ CVD รุ่นใหม่พบว่ามีข้อสังเกตุที่แตกต่างกันคือ เพชรจะแสดงปฏิกริยาต่อหลอด Ultraviolet คลื่นสั้น เป็นสีขาว และ คลื่นยาว เป็นสีเหลืองแกมน้ำเงิน แต่ยังคงมีปฏิกริยาต่อคลื่นสั้นเข้มข้นกว่าคลื่นยาวอยู่เช่นเดิม ถึงกระนั้นก็พบว่าบางเม็ดไม่มีปฏิกริยาใดๆต่อคลื่นเลย ดังนั้นเม็ดที่ไม่มีปฏิกริยาต่อคลื่นจึงไม่ควรสรุปด้วยวิธีนี้

ตำหนิ-เพชร-cvd-แยก-ดู-ตรวจ-uv-ฟลูออเรสเซนส์

วิธีแยก

  1. เพชรธรรมชาติ มักเรืองแสงด้วยหลอด Long wave มากกว่าหลอด Short wave
  2. เพชร CVD ไม่มีการเรืองแสงใดๆ หรือ เรืองแสงในหลอด Short wave มากกว่าหลอด Long wave

 

3. แยกดูด้วย Cross Polarized Filters (CPF)

     เพชรแท้ CVD ส่วนใหญ่นั้นสะอาดมาก(ปกติแล้วสูงกว่า SI) การส่องดูผ่าน Polarized Filters เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คาดหวังผลลัพธ์ได้ และ ใช้ได้ไม่ว่าเพชรจะน้ำขาวหรือนวลหรือไม่มีตำหนิ เป็นวิธีที่ต้องใช้ความชำนาญเนื่องจากต้องสังเกตุรูปแบบของ Birefrigence pattern ของเพชรธรรมชาติแล้วแยกความแตกต่าง หากใช้โดยผู้ชำนาญจะเป็นวีธีที่ค่อนข้างได้ผลอย่างมาก ทั้งยังเป็นวิธีที่รวดเร็ว มีราคถูกที่สุด และ สามารถออกตรวจสอบได้ทุกที่ตราบที่ยังมีแสงเพียงพอ

     หลักการใช้งานคือเมื่อส่องเพชรผ่าน Polarized Filters จะเห็นเป็นแถบเส้นสีที่มีลักษณะแตกต่างกันอันเกิดจากค่าความเครียดของผลึกขณะก่อกำเนิดเพชร จากนั้นให้เทียบลักษณะ Birefrigence pattern ของเพชรแท้ธรรมชาติและเพชรแท้ CVD ดังรูป

Birefrigence- pattern-Polarized-ตำหนิ-เพชร-cvd-แยก-ดู-4

Birefrigence- pattern-Polarized-ตำหนิ-เพชร-cvd-แยก-ดู-3

Birefrigence- pattern-Polarized-ตำหนิ-เพชร-cvd-แยก-ดู-2

Birefrigence- pattern-Polarized-ตำหนิ-เพชร-cvd-แยก-ดู-1

 

วิธีแยก

  1. วิธีนี้จะค่อนข้างยากเนื่องด้วยต้องอาศัยประสบการณ์ในการจดจำลักษณะ Birefrigence pattern ตามรูปภาพ ดังนั้นจึงแนะนำเฉพาะผู้ชำนาญการ

(สามารถอ่านบทความ วิธีแยกเพชรธรรมชาติกับCVDด้วยเครื่องมือขั้นสูง ได้ที่ลิ้งนี้)

 

เลือกชมเพชร CVD (Lab Grown Diamond) และ เครื่องประดับของเราได้ที่นี่

ผู้เขียนบทความ

ขออภัย! ไม่สามารถคัดลอกข้อความได้