สารบัญเนื้อหา
เพชรเหลี่ยมแปลกพิเศษในโลก !
ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน การเจียระไนเพชรให้ สวย ไฟดี ด้วยเหลี่ยมมาตรฐาน เป็นเรื่องง่ายที่ใครๆก็สามารถทำได้ แบรนด์เครื่องประดับชั้นนำของโลกเริ่มหันมาสนใจการเจียระไนเหลี่ยมรูปแบบใหม่ เพื่อมองหาเหลี่ยมที่สวยงามมากขึ้น หรือ แปลกแหวกแนวมากขึ้น อย่างไรก็ดีการกระทำแบบนี้ก็ต้องหาโรงงานเจียระไนที่มีประสิทธิภาพ และ ประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม เพราะการหาโรงงานเจียระไนที่ดีนั้นยากกว่าการออกแบบเหลี่ยมมาก
เพชรกลุ่มนี้ยังเป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มคนที่สะสมเพชร หรือ ผู้ที่เบื่อกับการเห็นเพชรกลมเหลี่ยมทั่วไป ซึ่งการเจียระไนเหลี่ยมใหม่ๆอาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 3-5% ในการผลิตได้ ดังนั้น เพชรกลุ่มนี้มักมีราคาสูงกว่าเพชรปกติ 0-10% แล้วแต่ผู้จัดจำหน่าย โดยบางเหลี่ยมจำหน่ายเฉพาะในร้านค้าเดียว เฉพาะในเครือบริษัทเดียว หรือ ในประเทศเดียว ทำให้มีความหายาก และ น่าเก็บสะสมเป็นอย่างมาก
เพชรกลุ่มนี้ยังมีได้ทั้งเพชรแท้จากธรรมชาติหรือ Lab Grown Diamond ดังนั้นไม่ว่าคุณจะซื้อเพชรกลม Briliant Cut หรือ เหลี่ยมตามตารางด้านล่าง คุณควรตรวจสอบคุณภาพและสอบถามก่อนว่าเป็นเพชรธรรมชาติหรือไม่
1. Ashoka Cut
จดสิทธิบัตรโดย William Goldberg Corp. ในปี 2545
เป็นทรง Cushion โบราณ ดัดแปลงโดยการตัด Girdle เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมโค้งมน มี 62 เหลี่ยม มีน้ำ D ถึง K และ เกรด IF ถึง SI ตั้งชื่อเหลี่ยมตามจักรพรรดิชาวพุทธ “อโศกมหาราช” อโศกแปลภาษาอังกฤษคือ “พลังที่จะขจัดความเศร้าโศก”
2. Baro Cut
จดสิทธิบัตรโดย Baroka Creations ในปี 2546
เป็นการเจียระไนแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า Mix cut ถูกเรียกว่า “The Two Heart Diamond” เนื่องจากมองเห็นหัวใจสองดวงบรรจบกันที่ culet มี 81 เหลี่ยมและมีขนาดตั้งแต่ 20 ตังค์ ขึ้นไป
3. Context Cut
จดสิทธิบัตรโดย Dr. Ulrich Freiesleben ในปี 2538
เป็นเพชรรูปทรงแปดเหลี่ยม เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นกากบาททแย เป็นเหลี่ยมที่มีราคาแพงเนื่องจากกระบวนการผลิต มักถูกใช้โดยนักออกแบบงานหรูหรา ราคาแพง
4. Corona
จดสิทธิบัตรโดย Yuval Harary Diamonds ในปี 2544
เป็นการเจียระไนทรง Square cut ที่มีความแวววาวสูง มีทั้งหมด 65 เหลี่ยม 40 เหลี่ยมบน Pavilian และ 25 เหลี่ยมบน Crown ผลิตตั้งแต่ 5 ตังค์ – 2 กะรัต
5. Criss Cut
จดสิทธิบัตรโดย Christopher Designs และ Lili Diamonds ในปี 2541
เจียเหลี่ยม Step cut ที่มีหน้าตัด 77 เหลี่ยม มีขนาดตั้งแต่ 0.05 ถึง 20 กะรัต
6. Cushette Cut
จดสิทธิบัตรโดย Diamco ในปี 2546
เป็นรูปทรงคุชชั่นที่มีความแวววาวของเพชรทรงกลม เจียระไนด้วยมือ มี 33 เหลี่ยมบนเม็ด Crown และ 44 เหลี่ยมบน Pavilian Cushettes cut มีขนาดตั้งแต่ 0.25 ถึง 10 กะรัตและได้รับการรับรองโดย GCAI
7. The Eighty-Eight
จดสิทธิบัตรโดย Steven Gad แห่ง Finesse Diamonds ในปี 2545
เป็นเพชรทรงกลม มี 88 เหลี่ยม โดยอิงตามความเชื่อคนเอเชียว่า เลข 88 จะนำความเจริญรุ่งเรืองมาให้ เพชร Eighty-Eight มีขนาดตั้งแต่ 0.05 ถึง 5 กะรัต มีน้ำตั้งแต่ D ถึง J และ เกรด SI3 ขึ้นไป
8.Flanders Ideal Square Cut
เป็นเพชรทรง Square เจียระไนเหลี่ยมเกสร ที่มี 62 เหลี่ยมเมื่อรวม Culet โดยถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2523 มีขนาดตั้งแต่ 0.05 ถึง 5 กะรัต และมีความสะอาดตั้งแต่ I ถึง IF ตั้งชื่อตามชื่อภูมิภาคที่ได้รับการเจียระไนเป็นครั้งแรก ที่เบลเยียม-แฟลนเดอร์ส ตอนเหนือ
9. Gabrielle
จดสิทธิบัตรโดย Gabriel Tolkowsky/ Suberi Bros ในปี 2545
เป็นการเจียระไนแบบ “Triple brilliant” ตั้งชื่อตามผู้สร้าง Gabi Tolkowsky มีมากถึง 9 รูปทรง คือ กลม, หยดน้ำ, มาคี, ไข่, หัวใจ, คูชั่น, โล่, จตุรัส, ผืนผ้า มีมากถึง 105 เหลี่ยม เพชร Gabrielle มีความสะอาดตั้งแต่ IF ไปจนถึง I และขนาดตั้งแต่ 10 ตังค์ขึ้นไป
10. Jubilant Crown
จดสิทธิบัตรโดย Edwin Bruce Cutshall ในปี 2544
เป็นการปรับปรุงทรงกลมเดิมที่นิยมกัน ด้วย Table ที่เล็กลงและ Crown 16 เหลี่ยมที่มากกว่าทรง Round Brilliant ทั่วไป ขนาด Table มีตั้งแต่ 40 ถึง 45% และน้ำหนักgริ่มต้นที่ 0.19 กะรัต Jubilant Crown มีจำหน่ายที่ความสะอาด ตั้งแต่ I ขึ้นไป และน้ำ K ถึง D
11. Korloff Cut
จดสิทธิบัตรโดย Korloff ในปี 2545
เป็นรูปทรงมรกตที่เจียระไน 65 เหลี่ยมแบบBrilliant cut มี 41 เหลี่ยมบน Crown และ 24 เหลี่ยมบน Pavilian Korloff Cut มีขนาดตั้งแต่ 0.05 ct ขึ้นไป
12. Lily Cut
จดสิทธิบัตรโดย Lili Diamonds ในปี 2540
เป็นเพชรรูปดอกไม้ผสมกับตารางสี่เหลี่ยม มี 65 เหลี่ยมและมีน้ำ D ถึง N และผลิตตั้งแต่ขนาดตั้งแต่ 0.20 กะรัตขึ้นไป Lily Cut มักถูกใช้ในแหวนและต่างหูสำหรับผู้หญิงอยู่บ่อยครั้ง
13. Quadrilion
จดสิทธิบัตรโดย Ambar Diamonds ในปี 2524
เป็นเพชรทรง Square ที่มี 49 เหลี่ยม Crown 21 เหลี่ยม Pavilian 24 เหลี่ยม และ Girdle 4 เหลี่ยม ในปีพ.ศ. 2523 เหลี่ยมนี้ถูกเจียแบบ Brilliant Square Cut แต่ภายหลัง ปีพ.ศ. 2543 ได้เปลี่ยนมาเจียระไนแบบ Step Cut มันจึงถูกเรียกใหม่ว่า Quad 2000
14. L’Amour Criss Cut
จดสิทธิบัตรโดย Christopher Designs ในปี 2556
ประกอบด้วย 50 เหลี่ยม มีสองด้านโค้งเล็กน้อยทิศด้านบนและด้านล่าง จะมีขนาดหน้ากว้างกว่า Emerald Cut 40-50 เปอร์เซ็นต์ เพชรเหลี่ยมนี้ที่หนักเกิน 0.70 กะรัต จะมาพร้อมกับใบรายงานการจัดเกรดเพชรจาก GIA ถูกออกแบบและผลิตโดยประเทศสหรัฐอเมริกา
15. Lucere Diamond
จดสิทธิบัตรโดย Gauge Diamonds
เจียระไนแบบ Mix cut ผสม Step cut ทรงสี่เหลี่ยมตัดมุม 3 ชั้น Crown มี 25 เหลี่ยม และ Pavilion เจียระไนแบบเหลี่ยมเกสรมี 40 เหลี่ยม เริ่มผลิตที่ 0.25 กะรัต สามารถออกใบเซอร์ได้ทั้ง GIA, AGS หรือ PGS ผลิตที่ความสะอาด IF ถึง I และน้ำ D ถึง M
16. Original Radiant Cut
จดสิทธิบัตรโดย Hentry Grossbard ในปี 2520
เป็นเพชรต้นแบบของการเจียระไนแบบ Radiant Cut ที่ได้หมดอายุและส่งผลให้โรงงานทั่วไปเริ่มเลียนแบบและผลิตออกจำหน่าย
17. PrinceCut
จดสิทธิบัตรโดย Avi Paz Group ในปี 2543
เจียระไนเป็นรูปทรงมรกตที่มีเหลี่ยม 111 เหลี่ยม ออกแบบมาเพื่อพัฒนาการเจียระไนเหลี่ยมมรกตแบบดั้งเดิมให้มีความแวววาวมากยิ่งขึ้น PrinceCut มีขนาดตั้งแต่ 0.10 กะรัต ถึง 10 กะรัต และน้ำตั้งแต่ D ถึง I
18. Royal asscher
จดสิทธิบัตรโดย Royal Asscher Diamond Co. ในปี 2545
คือเหลี่ยม Asscher รุ่นใหม่ที่มี 74 เหลี่ยม เจียระไนแบบ Step cut ซึ่งพัฒนาโดยเพิ่มเหลี่ยมจาก Asscher รุ่นเก่าถึง 16 เหลี่ยม และ ความลึกรวมน้อยกว่า ผลที่ตามมาคือน้ำหนักเมื่อหงายหน้าขึ้นจะดูใหญ่ขึ้นกว่าเพชร Asscher รุ่นดั้งเดิม
19. Royal Briliant
จดสิทธิบัตรโดย Exroyal Co. ในปี 2529
เป็นเหลี่ยม Brilliant กลม 82 เหลี่ยม มีคู่ Bezel 10 เหลี่ยม และ Pavilian main 10 เหลี่ยม ซึ่งสร้างลวดลายเป็นรูปหัวใจสิบดวงและลูกศรสิบดอกแทนที่จะเป็นแปดดวงตามปกติ
20. Sirius Star Cushion
จดสิทธิบัตรโดย Embee Diamond Technologies, Inc. ในปี 2554
มีหน้าเอียง 100 ด้าน( Octagonal main facet with four tier pavilian) ได้รับการตั้งชื่อตามดาวที่สว่างที่สุดในท้องฟ้ายามค่ำคืน เนื่องจากการเจียระไนเหลี่ยมนี้ ให้ความสว่างได้สูงมาก
21. Spirit Diamond
จดสิทธิบัตรโดย Dr. Ulrich Freiesleben ในปี 2540
เป็นเพชรทรงกลมสมัยใหม่ที่มี Crown 16 เหลี่ยมเท่าๆกัน และ Pavilian 16 เหลี่ยมเท่ากันที่แผ่กระจายออกไปด้าน Girdle ซึ่ง Spirit Diamond® มักใช้ในเครื่องประดับของดีไซเนอร์ระดับไฮเอน
22. Tycoon Cut
จดสิทธิบัตรโดย Tycoon Jewelry ในปี 2545
เป็นเพชรทรงสี่เหลี่ยมที่มี Crown 9 เหลี่ยม และ Pavilian 20 เหลี่ยม หน้าปัดตรงกลางด้านบนเจียระไนเป็นรูปเพชร ทำให้เป็น “เพชรที่มีเพชรอยู่ด้านบน” ขนาดเริ่มต้นที่ 0.05 กะรัต Tycoon ทุกเม็ดที่เจียระไนเกิน 0.50 กะรัต จะมาพร้อมกับใบเซอร์เพชรจาก GIA
23. Trielle
จดทะเบียนโดยบริษัท Trillion Diamond
มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า เจียระไนเหลี่ยมเกสร 50 เหลี่ยม โดยในปี พ.ศ. 2521 มีการจดสิทธิบัตรในชื่อ Trillion แต่เปลี่ยนชื่อเป็น Trielle ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องความหมายซ้ำกับรูปทรงเพชรดั้งเดิม
24. Virtue Cut
รูปทรงเพชรแบบ Step cut 21 เหลี่ยม ผลิตที่น้ำหนัก 0.20 กะรัต ถึง 3 กะรัต และความสะอาด VS ขึ้นไป และมีน้ำ D ถึง G และผลิตสีเหลืองแฟนซีอีกด้วย Virtue Cuts มักอยู่ในเครื่องประดับของดีไซเนอร์ ซึ่งจำหน่ายในร้านค้าปลีกระดับไฮเอนด์
25. WebCut
จดสิทธิบัตรโดย Dali Diamond Co. ในปี 2546
ออกแบบโดยเลียนแบบใยแมงมุม มี Crown 24 เหลี่ยม และ Pavilian 24 เหลี่ยม มีให้เลือกตั้งแต่ 0.20 ถึง 3 กะรัตที่น้ำ D ถึง I เกรดตั้งแต่ IF ถึง SI WebCut® แต่ละเม็ดจะมาพร้อมใบเซอร์ HRD (สามารถอ่านบทความ วิธีส่งเพชรเก่าไปเจียระไนใหม่ให้สวยขึ้น ได้ที่ลิ้งนี้)