การเปลี่ยนสีเพชรด้วยวิธี HPHT

 

1. หลักการ

     เพชรที่ปลูกในห้องแลปนั้นสามารถนำไปผ่านกระบวนการเพิ่มเติมได้หลังจากที่เพชรตกผลึกแล้ว เพื่อผลิตสีที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งวิธีการเปลี่ยนสีเพชรนั้นไม่แตกต่างจากเพชรธรรมชาติ คือ การการฉายรังสี หรือ การอบด้วยอุณหภูมิสูงความดันสูง (HPHT) ซึ่งเป็นวิธีการหลักในการเพิ่มสีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

     เพชรที่ปลูกในห้องแลปใช้อนุภาคพลังงานสูง ยิงเพื่อสร้างศูนย์กลางสีในโครงตาข่ายของอะตอมใหม่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโฟกัสที่ลำแสงของอนุภาคอิเล็กตรอนในเพชร เพื่อสร้างตำแหน่งใหม่ที่ว่างอยู่ของอะตอม โดย Type Ib เป็นเพชร lab grown diamond ประเภทที่พบได้บ่อยที่สุดที่ผลิตด้วยวิธี HPHT ผู้ผลิตเช่น AOTC และ Chatham Create Gems and Diamonds กำลังผลิตสินค้าประเภทต่างๆของสีชมพูผ่านการฉายรังสี สีชมพูที่บริสุทธิ์ที่สุดเป็นผลมาจากเพชรที่ผ่านการฉายรังสีซึ่งมีไนโตรเจนเข้มข้นต่ำ (สีเหลืองอ่อนมากและ Ib/IIa สีเหลืองอ่อน) ซึ่งจะใช้เวลาในการเติบโตมากกว่าเพชรประเภท Ib ที่มีไนโตรเจนเข้มข้นสูง (สีเหลือง Ib)

 

1.1 เพชรธรรมชาติประเภท la สีน้ำตาล/เหลืองอ่อน

     เพชรประเภทนี้สามารถเปลี่ยนเป็นสีเขียว สีเหลือง และ สีส้ม หากเพชรที่มีไนโตรเจนเจือปนอยู่ไม่ว่าในรูปแบบ A หรือ B หรือทั้งสองอย่าง สามารถสร้างได้ด้วยกระบวนการ HPHT โดยการแยกตัวอะตอมออกและสร้างไนโตรเจนเดี่ยวใหม่ขึ้นมาแทนที่ กระบวนการนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะในการสร้างเพชรสีเขียว สีส้ม และสีเหลืองเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นขั้นตอนแรกในการผลิตเพชรสีชมพูที่ฉายรังสีอีกด้วย กระบวนการนี้ใช้เพชรเม็ดเล็กตั้งแต่ 0.20 กะรัต ถึง 1.00 กะรัตเป็นหลัก โดยวัสดุเริ่มต้นเป็นเฉดสีน้ำตาลหรือสีเหลืองอ่อน ความสะอาดของเพชรต้องสูงกว่า SI2 โดยมักใช้กับเพชรที่มีขนาดเล็กเพราะได้จำนวนผลิตที่เร็วกว่า และ หลังจากผ่านกระบวนการต้องนำเพชรมาขัดเงาใหม่ให้ใสอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากมักมีกราไฟร์เกาะตัวขึ้นบริเวณผิวของเพชร

เพชร-แท้-สีส้ม-ออเรนจ์-diamond-เผา-ทรีทเม้นท์

1.2 เพชรธรรมชาติสีน้ำตาลอ่อนประเภท lla และ lIb

     ซึ่งต้องเป็นเพชรที่มีไนโตรเจนต่ำสามารถเปลี่ยนเป็นสีเกือบไม่มีสีหรือสีชมพูได้ และประเภท Ilb สีเทาหรือสีน้ำเงิน ทำโดยการใช้กระบวนการHPHTปรับปรุงโครงตาข่ายคริสตัลของมัน ซึ่งจะทำให้เพชรเข้าสู่สภาวะที่ใกล้เคียงความสมดุลมากขึ้น ผลลัพธ์ของกระบวนการนี้ช่วยในการขจัดสีน้ำตาลออกจากหินและได้เพชรที่ไม่มีสีหรือเกือบไม่มีสีตั้งแต่ D color ลงไป นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ที่จะได้เพชรสีชมพูอ่อน เนื่องจากโครงตาข่ายคริสตัลที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงบางส่วน เพชรที่อยู่ในกลุ่มนี้หายากมากและคิดเป็นน้อยกว่า 2% ของเพชรทั้งหมด

     ข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวของกระบวนการคือขนาดของแคปซูลผลิต ซึ่งไม่สามารถบรรจุเพชรที่มีขนาดใหญ่กว่า 70 กะรัตได้ มักเกิดกราไฟร์บริเวณพื้นผิวและเพชรแต่ละก้อนจะต้องได้รับการขัดเงาใหม่ สีที่ใช้เริ่มต้นคือเฉดสีน้ำตาลทั้งหมดและความสะอาดมากกว่า S11

     ในอดีตมักผลิตเพชรสีนี้ได้เพียงขนาด 20 ตังค์ โดยขนาด 1 กะรัต เริ่มผลิตได้เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งเพชร Ilb ประเภทสีเทาถึงสีน้ำตาลนั้น ยังสามารถปรับปรุงสีให้เป็นสีน้ำเงินด้วยกระบวนการ HPHT แต่กระบวนการนี้นี้ไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์เท่าใดนักเนื่องจากเพชรประเภท llb (น้อยกว่า 0.1%) นั้นหายากมาก

เพชรแท้-สีน้ำเงิน-ทรีสเมน-treatment-อบ-เผา-blue-diamond

1.3 เพชร CVD

     เพชร CVD นั้นมักปลูกได้เป็นประเภท lla เป็นหลัก มักมีความสะอาดและโปร่งใสมาก แต่เพชร CVD ที่ตกผลึกแล้วมักมีสีน้ำตาล จากผลการทดลองบ่งชี้ว่า เพชร CVD สีน้ำตาลนั้นเมื่อผ่านกระบวนการHPHTทำให้ได้สีน้ำตาลอ่อน หรือแม้กระทั้งใสไร้สีได้  และหากโชคดีเราอาจได้เพชรCVDสีชมพู (สามารถอ่านบทความ ประวัติศาสตร์เพชรCVD ได้ที่ลิ้งนี้)

เพชร-cvd-ก้อนดิบ-ยังไม่เจียระไน-น้ำตาล

 

เลือกชมเพชร CVD (Lab Grown Diamond) และ เครื่องประดับของเราได้ที่นี่

ผู้เขียนบทความ

ขออภัย! ไม่สามารถคัดลอกข้อความได้