เพชรปลอมเลียนแบบ มีอะไรบ้าง ?

 

1. เพชรปลอมเลียนแบบ (Iimtation Diamond) คือ

     หมายถึงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น หรือ พลอยแท้ ที่นำมาทำเลียนแบบเพชร โดยไม่ได้มีคุณสมบัติทางกายภาพ, ทางเคมี เช่นเดียวกับเพชรธรรมชาติ และ เพชร CVD (Lab Grown Diamond) โดยหลายท่านมักสับสนคำว่าเพชรCVDสังเคราะห์ ที่เข้าใจผิดว่าเป็นเพชรปลอม ซึ่งอันที่จริงหมายถึงเพชรแท้ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะไม่ได้ถูกจัดเป็นอัญมณีปลอมเลียนแบบ

     อัญมณีเลียนแบบมักมีราคาถูกกว่าเพชรหลายเท่าโดยทั่วไปจึงทำเพื่อลดต้นทุนค่าผลิต เพราะยิ่งเพชรเม็ดใหญ่และสะอาด อาจมีราคาถึงหลายล้าน ซึ่งเป็นการยากที่ทุกคนจะมีสิทธิ์ครอบครอง เช่นการ นำคัลเลอร์เลสแซฟไฟร์ ในตระกูลไพลินแต่มีสีขาว มาฝังแทนการใช้เพชร เนื่องด้วยเพชรเป็นอัญมณีที่มีประกายหรือไฟมาก โดยส่วนใหญ่จึงนิยมใช้อัญมณีที่มีประกาย หรือ ไฟที่ดีใกล้เคียงกันมาเพื่อทำเลียนแบบ

 

2. ประเภทของเพชรปลอมเลียนแบบ

 

2.1 อัญมณีสังเคราะห์ เลียนแบบเพชร (Imitation Synthetic)

     คืออัญมณีที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยไม่ได้มีคุณสมบัติกายภาพ และ ทางเคมี เหมือนกันกับเพชรธรรมชาติและ CVD (Lab Grown Diamond) เพียงแต่มีความคล้ายคลึงกันเมื่อมองด้วยตาเปล่าหรือเครื่องมือพื้นฐาน มักใช้ทดแทนกันเพื่อลดต้นทุนการผลิตและการขาย หรือ บ่อยครั้งที่ถูกใช้โดยมิจฉาชีพ ซึ่งอัญมณีเลียนแบบมีวิธีตรวจสอบพื้นฐานได้ค่อนข้างง่ายหลายวิธี

 

2.1.1 มอยส์ซอไนต์ (MOISSANITE)

     เป็นอัญมณีสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างบางส่วนจากคาร์บอน คือ SIC โดยการผสมคาร์บอนกับซิลิกอน มีอีกชื่อว่า เพชรโมอีส มีค่าความแข็งใกล้เคียงเพชร จึงทำให้สังเกตจากสันเหลี่ยมสึกกร่อนได้ยาก แต่มีค่าการกระจายแสงสูงกว่าเพชรมาก ทำให้มีไฟสูงกว่าเพชรอย่างเห็นได้ชัด เป็นอีกจุดหนึ่งที่ผู้ชำนาญเมื่อแค่เห็นเครื่องประดับผ่านตาเพียงชั่วครู่ถึงสามารถทราบได้ทันทีว่าไม่ใช่เพชรแท้ โมอีสไม่สามารถใช้เครื่องตรวจความร้อนที่ใช้แยกเพชรแท้กับCZได้เพราะโมอิสมีการนำความร้อนใกล้เคียงเพชร แต่สามารถแยกได้ด้วยเครื่องวัดการนำไฟฟ้า เครื่องตรวจแยกที่ใช้แยกเพชรแท้กับโมอิส ส่วนใหญ่จะใช้หลักการนี้  ซึ่งเราอาจดูโมอีสด้วยตาเปล่าได้ง่ายด้วยการดู DOUBLING และ การให้โมอีสถูกความร้อนซึ่งหากถูกความร้อน 100-400 องศาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเมื่อปล่อยให้เย็นตัวลงต่ำกว่า 100 องศาจะกลับเป็นสีขาวดังเดิม

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : DR
  • ความแข็ง : 9.25-9.5
  • R.I. : 2.66
  • S.G. : 3.10

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-Moissanite-มอยซาไนท์-โมอีส

 

2.1.2 คิวบิกเซอร์โคเนีย (CUBIC ZIRCONIA)

     เป็นอัญมณีสังเคราะห์ที่นำมาเลียนแบบเพชร อาจเรียกได้อีกชื่อคือ เพชรรัสเซีย และ CZ ไม่มีสูตรเคมีของ ธาตุ คาร์บอน คือ ZRO2 เพชร CZ นั้นสามารถผลิตได้หลายสี ชนิดที่นิยมนำมาเลียนแบบคือสีขาวใส มีราคาถูกมากและสามารถผลิตได้จำนวนมหาศาล แต่เมื่อใช้งานไปไม่นานสันเหลี่ยมจะสึกกรอนและความแวววาวจะหายไป CZ มีค่าถ่วงจำเพาะที่สูง ทำให้เมื่อเราเดาะที่อุ้งมือ จะรู้สึกหนักกว่าเพชรได้อย่างชัดเจน และ การผลิตใรปริมาณมากทำให้คุณภาพการเจียต่ำ มักไม่ได้สัดส่วนที่สวยงาม

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : SR
  • ความแข็ง : 8-8.5
  • R.I. : 2.16
  • S.G. : 5.80

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-เพชรรัสเซีย-cz-cubiczerconia

 

2.1.3 แก้ว (ARTIFICIAL GLASS)

     เป็นสารอนินทรีย์ที่มีธาตุหลักเป็น SI (ซิลิกอน) มีรูปร่างไม่แน่นอน องค์ประกอบเคมีไม่ตายตัว  ได้จากการนำทรายมาผ่านความร้อนจนหลอมเหลวจากนั้นปล่อยให้เย็นตัวเป็นของแข็ง สามารถผลิตได้ทุกสี มีราคาถูกมาก สามารถผลิตได้จำนวนมาก สามารถแยกออกจากเพชรได้ง่ายเนื่องจากมีค่าการกระจายแสงน้อย ทำให้ไม่ค่อยมีไฟ และความแข็งต่ำสามารถสังเกตได้จากสันเหลี่ยมที่มน ไม่คมสวยงาม และได้สัดส่วน ส่วนใหญ่มีน้ำหนักเบา ลักษณะตำหนิมักพบ ฟองอากาศ (gas buble) ความแวววาวผิวที่น้อย (luster)

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : SR
  • ความแข็ง : 5-6
  • R.I. : 1.470-1.700
  • S.G. : 2.30-4.50

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-แก้ว-glass

 

2.1.4 พลาสติก (PLASTIC)

     เป็นสารอินทรีย์ที่เกิดจากกระบวนการกลั่นน้ำมันพอลิเมอร์ไลเซซั่น สามารถหลอมให้ขึ้นรูปให้อย่างอิสระ มีราคาถูกมาก ค่าความแข็งน้อยจึงไม่คงทนต่อการขีดข่วน  เหลี่ยมโค้งมนไม่ได้สัดส่วนเนื่องจากผลิตในปริมาณมาก น้ำหนักเบามากจนไม่รู้สึกหน่วงมือเมื่อทำการเดาะ  ด้วยค่าดัชนีหักเหแสงน้อยจึงไม่ค่อยมีประกาย และประกายจะด้าน สามารถแยกออกจากเพชรด้วยตาเปล่าได้ทันที ตำหนิชนิดฟองอากาศเช่นวัสดุประเภทแก้ว

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : SR
  • ความแข็ง : 1.5-3
  • R.I. : 1.460-1.700
  • S.G. : 1.05-1.55

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-พลาสติก-plstic

 

2.2 อัญมณีธรรมชาติ เลียนแบบเพชร (Gems Imitation Synthetic)

     หมายถึงอัญมณีธรรมชาติ ที่นำมาเจียระไนแล้วนำมาฝังเพื่อเลียนแบบเพชร โดยปกติพลอยนั้นมักจะเจียก้นแบบ step cut ซึ่งจะมีความแตกต่างด้านประกายและไฟ ทำให้มีความง่ายต่อการตรวจสอบและสังเกตุมากกว่าอัญมณีสังเคราะห์เลียนแบบ โดยอัญมณีที่มักพบเห็นบ่อยๆคือ เพทาย แซฟไฟร์ขาวไร้สี

 

2.2.1 เพทาย (ZIRCON)

     เป็นพลอยแท้ธรรมชาติ มีสูตรเคมีคือ ZRSIO4 มีคุณสมบัติ ความวาว การกระจายแสงใกล้เคียงกับเพชรจึงนิยมนำมาใช้ทดแทนเพชร มีโครงสร้างผลึกแบบเทรตะโกนัล ปิรามิดสี่เหลี่ยมเพทายที่นิยมนำมาใช้จะเป็นเพทายใสไม่มีสี ซึ่งเพทายยังมีสีอื่นอีกมาก เช่น ฟ้า ส้ม น้ำตาล การทำเพทายขาวทำได้ง่ายด้วยการนำเพทายฟ้า น้ำตาล เหลืองมาให้ความร้อน600-1000องศาเพทายจะมีสีอ่อนลงจนไร้สี จึงนิยมนำมาเผาเพื่อให้ได้สีขาวทดแทนเพชรเนื่องจากมีราคาถูกกว่ามาก แหล่งขุดพบนั้นจะเป็น เวียดนาม พม่า มาดากัสการ์ ศรีลังกา แต่ความคงทนต่ำกว่าเราจึงสามารถสังเกตได้จากสันเหลี่ยมที่สึกกร่อนได้ง่าย และหลังจากสึกกร่อนความแวววาวก็มักจะลดลง มีเอกลักที่แยกใช้ชัดเจนคือDOUBLING คือมีภาพซ้อนเมื่อมองทะลุผ่านไปในเนื้อ

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : DR
  • ความแข็ง : 6-7.5
  • R.I. : 1.925-1.984
  • S.G. : 4.70
  • ความเหนียว : แย่-พอใช้

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-เพทาย-ขาว-ไร้สี

 

2.2.2 สปิเนล (SPINEL)

          เป็นอัญมณีโครงสร้างผลึกไอโซเมตริกเช่นเพชร เป็นรูปปิรามิดกลับหัวเช่นเพชร บางครั้งพบว่ามีความมันวาวใกล้เคียงเพชร และมีค่าหักเหเดี่ยวเช่นเพชร ทำยังพอนำมาทดแทนเพชร แต่มีไฟหรือค่ากระจายแสงน้อยกว่าเพชรมากเนื่องจากค่าดัชนีหักเหต่ำกว่าเพชร ทำให้เราสามารถมองมุม45 องศา และตรวจสอบทางก้นเพชรได้ง่าย มีความแข็ง 8 ได้หลายสี ทั้ง แดง น้ำตาลแดง น้ำเงิน ขาว ชมพู มองดูตาเปล่ามีความคล้ายกับพลอยตระกูลแซฟไฟร์มาก ในสมัยก่อนปี1800เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพลอยตระกูลควอรันดัม หลังจากเทคโนโลยีสูงขึ้นจึงมีความเข้าใจว่าเป็นอัญมณีคนละชนิดในภายหลัง  

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : SR
  • ความแข็ง : 8
  • R.I. : 1.718
  • S.G. : 3.27-3.48
  • ความเหนียว : ดีมาก

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-สปิเนล-spinel

 

2.2.3 ฟลูออไรต์ (FLUORITE)

     เป็นอัญมณีธรรมชาติที่มีรูปผลึกหรือก้อนดิบ และ มีค่าหักเหแสงเดี่ยวเหมือนเพชร แต่สังเกตได้ง่ายด้วยค่าความแข็งที่ต่ำมาก พบเห็นได้ทุกสียกเว้นสีดำ มีรอยขีดข่วนได้ง่าย จึงไม่ค่อยนิยมนำมาเลียนแบบเพชรเท่าใดนัก แต่มีราคาถูกมาก มีโครงสร้างเคมีคือ CAF2 พบมากใน จีน อเมริกา

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : SR
  • ความแข็ง : 4
  • R.I. : 1.434
  • S.G. : 3.18
  • ความเหนียว : แย่

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-ฟลูออไรท์-fluorite

 

2.2.4 แซฟไฟร์ (SAPPHIRE)

     เป็นหนึ่งในอัญมณีตระกูลควอรันดัม ชื่อทางเคมีคือ อะลูมิเนียมออกไซด์ AL2O3 เช่นเดียวกับ ทับทิม ไพลิน บุษราคัม มีระบบผลึกเฮกซะโกนัล ลักษณะ 6 เหลี่ยม ทำให้ก้อนดิบมีลักษณะแตกต่างจากเพชร ไม่ควรสังเกตุแซฟไฟร์และเพชรจากการดูความสึกหรอของเหลี่ยมเนื่องด้วยแซฟไฟร์มีค่าความแข็งสูง ทำให้เหลี่ยมมีความคม แต่สามารถดูได้จากรูปแบบการเจียระไนที่มักเจียเป็นแบบเหลี่ยมผสม มีการกระจายแสงที่ดี มีความทนทานสูง ทนความร้อนได้สูง เมื่อนำมาทำเป็นเครื่องประดับแล้วแทบไม่มีการสึกหรอของเหลี่ยมจึงนิยมนำมาแทนเพชร และตำหนิภายในเนื้อจะแตกต่างจากเพชรอย่างชัดเจนที่มักจะมีตำหนิประเภทFRINGER PRINT ที่ปรากฏบ่อยในควอรันดัม แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าอัญมณีชนิดอื่นอยู่มาก แต่ยังคงย่อมเยากว่าเพชร จึงเป็นที่นิยมและพบเห็นได้บ่อยครั้ง

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : DR
  • ความแข็ง : 9
  • R.I. : 1.762-1.770
  • S.G. : 4.00

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-แซฟไฟร์-sapphire

 

2.2.5 โทพาซ (TOPAZ)

            พลอยโทพาซมีสูตรเคมีคือ AL2SIO4OHF2 มีหลายสีทั้งแดง ชมพู ฟ้า ไร้สี น้ำตาล ส้ม แม้จะมีความแข็ง 8 แต่สามารถสังเกตุตามสันเหลี่ยมได้มักจะมีการสึกกร่อนต่างจากเพชร และ เจียเหลี่ยมแบบชั้น แม้ว่าโทพาซจะมีแบบไส้ไม่มีสี แต่หากส่องกล้องสังเกตุดูมักจะพบว่าเนื้อสีโทพาซอมเฉดสีฟ้าเล็กน้อย 

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : DR
  • ความแข็ง : 8
  • R.I. : 1.610-1.640
  • S.G. : 3.50-3.60

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-โทพาซ-โทปาส-topaz

 

2.2.6 ร็อคคริสตอล (ROCK CRYSTAL)

          อีกหนึ่งอัญมณีประเภทเนื้ออ่อนที่คนไทยมักจะเรียกว่า เขียวหนุมาน ซึ่งร็อคคริสตอลเป็นหนึ่งในอัญมรีตระกูลควอตซ์เป็นเดียวกับ อเมทิสต์ ซิทริน เป็นอัญมณีที่พบเห็นได้ง่ายมีจำนวนมาก และมักพบเป็นผลึกขนาดใหญ่ บ่อยครั้งที่เรามักเห็นในข่าวว่ามาการขุดพบเพชรขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อตรวจวิเคราะห์มักพบว่าเป็นร็อคคริสตัล และ มีมิจฉาชีพนำมาเสนอขายให้ประชาชนอยู่บ่อยครั้ง มีสูตรเคมีคือ SIO2 ลักษณะผลึก เฮกซะโกนัล เช่นควอรันดัม เราสามารถสังเกตสันเหลี่ยมการเจียระไนที่มน และ เจียเหลี่ยมชั้น มีการกระจายแสงที่น้อยทำให้ประกายที่ออกมาแตกต่างจากเพชรอย่างเห็นได้ชัด เมื่อองจากฝั่งหน้าเทเบิล ทำมุมเอียง45 องศาจะส่องผ่านเห็นพื้นผิวด้านหลังอย่างชัดเจนต่างจากเพชรที่ประกายจะสะท้อนกลับออกมา การสังเกตุจากตำหนิอาจทำได้ยากเนื่องด้วยร็อคคริสตอลเป็นอัญมณีที่มักจะสะอาด

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : DR
  • ความแข็ง : 7
  • R.I. : 1.544-1.553
  • S.G. : 2.65
  • ความเหนียว : ดี

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-ร็อคคริสตัล-ROCK-CRYSTAL

 

2.2.7 โกเชไนท์(GOSHENITE)

     โกเชไนท์คือเบริลไร้สี มีที่มาจากเมืองโกเช ในอเมริกา เป็นหนึ่งในพลอยตระกูล เบริล ที่หากพูดถึงคำว่าเบริลแล้วคนไทยอาจจะไม่ค่อยรู้จัก แต่หากพูดถึงเบริลชื่อดังอย่าง มรกต และ อะความารีน จะได้ยินบ่อยอย่างแน่นอน มีโครงสร้างเคมีคือ เบริลเลียม อะลูมิเนียม ซิลิเกต BE3AL2SI6O18 ลักษณะผลึกดิบเป็นรูปแท่ง6เหลี่ยมแตกต่างกันเพชรอย่างชัดเจน เนื้อมีความเปาะและกรอบ ทำให้การเจียระไนและการฝังทำได้ยาก จึงไม่คงทนต่อการสวมใส่ และ มักเจียเหลี่ยมชั้น ซึ่งแตกต่างจากเพชรมาก เป็นพลอยที่การกระจายแสงไม่ดี ตั้งแต่การสังเกตด้วยตาเปล่า ส่วนการใช้กล้องส่องมักมีตำหนิมลทิลของไหลในเนื้อ เมื่อมองเอียงจากหน้าตรง 45 องศาเนื้อจะทะลุเป็นพื้นผิวด้านหลังไม่เป็นประกายสะท้อนขึ้นสู่ตา จึงไม่ค่อยนิยมนำมาทดแทนเพชร

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : DR
  • ความแข็ง : 7.5-8
  • R.I. : 1.577-1.583
  • S.G. : 2.72

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-โกเชไนท์-GOSHENITE

 

2.2.8 อะครอยต์ (ACHROITE)

          เป็นอัญมณีในกลุ่มทัวร์มาลีน จัดในตระกูลซิลิเกตคนไทยนิยมแยกเป็นพลอยเนื้ออ่อนมีสูตรคือ CA,K,NA)(AL,FE,LI,MG,MN)3(AL,CR, FE,V)6
(BO3)3(SI,AL,B)6O18(OH,F)มีได้หลากหลายสีจัดเป็นพลอยเนื้ออ่อนที่มีเฉดสีมากที่สุด ทั้ง แดง ฟ้า น้ำเงิน เขียว น้ำตาล และ ขาว มีโครงสร้างผลึกแบบเฮกซะโกนัล จึงทำให้ก้อนดิบแตกต่างจากเพชรแม้ดูผิวเผิน มีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือมีค่า PLEOCHROISM สูงอันหมายถึงคู่สีแฝดในเม็ดเดียวกัน ซึ่งเพชรเป็นอัญมณีประเภท SR จึงมีสีเดียว ด้วยค่าความแข็งน้อยจึงสามารถดูความสึกหรอตามสันเหลี่ยมได้เช่นเดียวกันพลอยชนิดอื่น มีค่ากระจายแสงต่ำมากทำให้ไฟน้อย สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า

คุณสมบัติ

  • แกนแสง : DR
  • ความแข็ง : 7-7.5
  • R.I. : 1.6.24-1.644
  • S.G. : 3.05

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-อะครอยต์-ACHROITE

 

2.3 เพชรปะกบ (COMPOSITE DIAMOND)

     คือการนำอัญมณีต่างชนิดกัน 2-3 ชนิด มาตัดเอาบางส่วน แล้วทำการปะกบด้วยกาวชนิดใสพิเศษ ซึ่งกระบวนการนี้ อาจจะเป็นเพชรแท้กับเพชรสังเคราะห์, เพชรแท้กับพลอย เพชรสังเคราะห์กับพลอย หรือ พลอยกับพลอย แล้วแต่ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนด แน่นอนว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงมาก และสามารถเพิ่มขนาดเพชรให้เม็ดใหญ่ขึ้นได้มาก หากพบเจอเพชรกรณีนี้ไม่ควรซื้ออย่างเด็ดขาดเพราะราคาต่ำกว่าขนาดจริงมาก  และ ไม่ควรนำมาใช้งานเนื่องจากเพชรอาจหลุดเสียหายได้ 

เทคนิกตรวจสอบ

เราสามารถตรวจสอบดูได้ง่ายโดยดูบริเวณขอบ Girdle จะมีเส้นรอยการปะติดอาจจะเป็นลักษณะเส้นตรงทึบได้แต่หากกาวมีลักษณะใส จะเส้นเส้นใสๆวนรอบเกอเดิลซึ่งสั่งเกตุด้วยตาเปล่าได้ง่าย

เพชร-ปลอม-ปะกบ-composit-diamond

 

3.คุณสมบัติอัญมณี

 

NO

NAME

HARDNESS

R.I.

S.G.

1

DIAMOND

10

2.417

3.52

2

HIGH PRESSURE HIGH TEMPERATURE (HPHT)

10

2.417

3.52

3

CHEMICAL VAPOR DEPOSITION             (CVD)

10

2.417

3.52

4

YITTRIUM ALUMINIUM GARNET           (YAG)

8.25

1.833

4.55

5

CUBIC ZIRCONIA                                         (CZ)

8.5

2.150

5.80

6

GADOLINUM GALLIUM GARNET           (GGG)

6.5

1.970

7.05

7

STRONTIUM TITANATE

5-6

2.409

5.13

8

SPINEL

8

1.718

3.27-3.48

9

FLUORITE

4

1.434

3.18

10

ARTIFICIAL GLASS

5-6

1.47-1.700

2.30-2.45

11

PLASTIC

1.5-3.0

1.460-1.700

1.05-1.55

12

SYNTHETIC RUTILE

6-6.5

2.616-2.903

4.26

13

MOSSANITE

9.25-9.5

2.650-2.690

3.21

14

ZIRCON

6-7.50

1.925-1.984

4.70

15

SAPPHIRE

9

1.762-1.770

4.00

16

TOPAZ

8

1.610-1.640

3.50-3.60

17

ROCK CYSTAL

7

1.544-1.553

2.65

18

GOSHENITE

7.5-8

1.577-1.583

2.72

19

ACHROITE

7-7.5

1.624-1.644

3.05

(สามารถอ่านบทความ วิธีแยกเพชรแท้กับHPHT(LabGrowndiamond) ได้ที่ลิ้งนี้)

 

เลือกชมเพชร CVD (Lab Grown Diamond) และ เครื่องประดับของเราได้ที่นี่

ผู้เขียนบทความ

ขออภัย! ไม่สามารถคัดลอกข้อความได้