วิธีแยกดูความแตกต่าง เพชรแท้ กับ โมอีส

 

1. โมอีส (Moissanite) คืออะไร

    โมอีส มีชื่อทางเคมีว่า ซิลิคอนคาร์ไบด์ เป็นแร่หายากที่ถูกค้นพบโดย Henry Moissan ในปี 1893 ขณะตรวจสอบตัวอย่างหินจากปล่องอุกกาบาตใน Canyon Diablo รัฐแอริโซนา เขาพบว่ามันเป็นแร่ที่มีประกายไฟมากกว่าเพชร มีดัชนีการหักเหของแสงสูงกว่า 2.65 และความแข็ง 9.25 ด้วยคุณสมบัติความทนทานและความแวววาวที่ยอดเยี่ยม ภายหลังจึงมีการคิดค้นวิธีสังเคราะห์แร่ชนิดนี้และใช้มันเป็นทางเลือกทดแทนเพชร และมักเรียกว่า “มอยซาไนท์” แม้ว่าในทางเทคนิคแล้วจะเป็นมอยซาไนท์สังเคราะห์ ไม่ใช่มอยซาไนท์ธรรมชาติ โมอีสต่างจาก CZ ตรงที่สามารถผ่านการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบการนำความร้อนได้ ซึ่งมันจะให้ค่าเดียวกับเพชร ดังนั้นการแยกเพชรแท้กับโมอีสต้องแยกด้วยเครื่องทดสอบที่ระบุว่าสามารถแยกโมอีสได้เท่านั้น อย่างไรก็ดีการตรวจด้วยตามักจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทนี้

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-Moissanite-มอยซาไนท์-โมอีส

 

2. วิธีแยกดูความแตกต่าง

 

2.1 แยกด้วยวิธี Doubled Facet

     เป็นการทดสอบที่สำคัญมากสำหรับการแยกเพชรแท้กับโมอีส หากคุณมองผ่านกล้องขยายเข้าไปในเนื้อเพชรแล้วพบว่าสันเหลี่ยมดูเบลอหรือมีเส้นซ้อนปรากฏออกมาข้างๆเส้นสันเหลี่ยม แสดงว่าเพชรเม็ดนั้นไม่ใช่เพชรแท้แต่เป็นโมอีส เพราะเพชรจะมีการหักเหแสงในทิศทางเดียว ดังนั้นเหลี่ยมของมันจึงปรากฏเป็นเส้นเดียว ซึ่งโมอีสนั้นมีการหักเหของแสงเป็นสองเท่าและส่งผลมาสู่ตามนุษย์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

 

ภาพซ้อน-โมอีส-วิธี-ตรวจ-แยก-ดู

 

2.2 แยกด้วยเครื่องวัดการนำไฟฟ้า

     โดยปกติแล้ววิธีการแยกที่รวดเร็วและแม่นยำในการระบุว่าเป็นเพชรหรืออัญมณีอื่นๆหรือไม่คือการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบการนำความร้อน  เพราะเพชรเป็นตัวนำความร้อนที่ดีกว่าอัญมณีอื่นๆมาก โดยการจิ้มปลายหัวโลหะของตัวเครื่องลงไปตรงๆที่หน้าเม็ดเพชรก็จะได้ผลลัพธ์

     ก่อนปี พ.ศ. 2541 การทดสอบการนำความร้อนสามารถตรวจจับเพชรเลียนแบบได้ทั้งหมด เนื่องจากอัญมณีอื่นมีค่าการนำความร้อนต่ำซึ่งแตกต่างจากเพชร แต่ใช้ไม่ได้กับโมอีสบางชนิด เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น จึงมีมอยซาไนต์ที่มีค่าการนำไฟฟ้าต่ำ มันสามารถทำปฏิกิริยาเหมือนเพชรในเครื่องทดสอบโมอีสยุคก่อน เพราะมันให้ผลลัพธ์เดียวกันกับเพชร ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาใหม่ เกิดเป็นเครื่องทดสอบโมอีสที่วัดค่าด้วยการนำไฟฟ้าแบบละเอียด ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อแยกเพชรซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าออกจากโมอีสซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า ปัจจุบันเครื่องทุกรุ่นที่ใช้ตรวจสอบโมอีสด้วยการวัดค่านำไฟฟ้า สามารถใช้ได้ดีทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องใช้รุ่นที่มีราคาแพงใดๆ

moissanite-diamond-tester-เครื่องมือ-ตรวจ-แยก-โมอิส-มอยซาไน

 

2.3 แยกด้วยวิธีดูน้ำหนัก

      เพชรโดยทั่วไปจะมีขนาด(เส้นผ่านศูนย์กลาง)มากกว่า โมอีส ที่มีน้ำหนักเท่ากันเล็กน้อย เพราะเพชรมีความถ่วงจำเพาะต่ำกว่า 3.52 โมอีสมีค่าถ่วงจำเพาะต่ำกว่า 3.22 วิธีที่ง่ายและรวดเร็วในการแยกเพชรร่วงจากโมอีสคือ ใส่เพชรลงในน้ำยาเมทิลีนไอโอไดด์ (ของเหลวหนัก S.G. 3.32) ในแก้วเปล่า โมอีสจะลอยในขณะที่เพชรจะจม ข้อควรระวังคือเมทิลีนไอโอไดด์เป็นพิษมากและควรใช้ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกเท่านั้น

 

2.4 แยกด้วยเครื่อง Reflectometer

     สามารถวัดความสามารถในการสะท้อนแสงของเพชรได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Reflectometer เพชรและโมอีสมีลักษณะเฉพาะการแสดงค่าที่ได้จากคุณสมบัติกายภาพ โดยหลังจากอ่านค่าในเครื่อง Reflectometer ให้เรามาดูค่าคุณสมบัติการสะท้อนแสงของอัญมณีได้ทันที สิ่งสำคัญคือเพชรต้องสะอาดไม่เปื้อนฝุ่นใดๆ เพราะอาจทำให้ค่าผิดเพี้ยนได้

Reflectometer-เพชร-เครื่องมือ-ตรวจ-แยก-ดู-โมอีส

 

2.5 แยกด้วยเครื่อง Spectroscope

     สเปกโตรสโคปเป็นเครื่องมือขนาดเล็กที่แสดงการดูดกลืนแสงที่เข้มกว่าและแคบกว่าในสเปกตรัมที่ตามองเห็นได้ของอัญมณีเป็นแถบสีเข้มที่ความยาวคลื่นเฉพาะ เพชรที่ขาวใสไร้สีส่วนใหญ่ Type la จะแสดงแถบสีที่ 415.5 นาโนเมตร พร้อมกับเส้นที่อ่อนกว่าที่ 435 นาโนเมตร 451 นาโนเมตร 463 นาโนเมตร และ 478 นาโนเมตร ซึ่งสเปกตรัมของ CZ และ โมอีสนั้น ไม่สามารถวินิจฉัยได้ การทำให้เพชรเย็นลงด้วยไนโตรเจนเหลวหรือวางไว้ในช่องแช่แข็งจะช่วยให้ได้ค่าที่แม่นยำมากขึ้น

Spectroscoper-เพชร-เครื่องมือ-ตรวจ-แยก-ดู-โมอีส

 

2.6 แยกดูด้วยแถบสีรุ้ง

     การทดสอบแถบสีรุ้ง ทำได้โดยการเทียบเพชรแท้ที่เรามีกับเม็ดที่ต้องการตรวจสอบ หากสีรุ้ง (หรือที่เรียกว่าการกระจายแสงหรือไฟ) ชัดเจนกว่าของที่คุณมีมาก เพชรนั้นอาจเป็นรูไทล์สังเคราะห์ สตรอนเชียมไททาเนต หรือ โมอีส แต่หากน้อยกว่าอย่างชัดเจน เพชรเม็ดนั้นอาจเป็นของเลียนแบบอื่น เช่น พลอย แก้ว กระจก การทดสอบนี้มีประโยชน์มากที่สุดในการแยกแยะเพชรจากรูไทล์ สตรอนเชียมไททาเนต และ โมอีส เนื่องด้วยเพชรเลียนแบบ 3 ชนิดนี้สามารถเจียระไนได้โดยไม่สามารถใช้หลักการมองทะลุได้ การดูที่การกระจายแสงสีรุ้งค่อนข้างให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

shape-รูปทรง-เพชร-เหลี่ยม-กลม-round

เพชร-ปลอม-เลียนแบบ-Moissanite-มอยซาไนท์-โมอีส

3. สรุปลักษณะเด่นของโมอีส

  • มีรอยแตกบิ่นแบบ Conchoidal (รูปเปลือกหอย)
  • สันเหลี่ยมการเจียระไนอาจจะมีขอบมนมากกว่าเพชรแท้
  • มักมีการกระจายแสงสีรุ้งมากกว่าเพชร
  • มักเกิดภาพซ้อนเมื่อมองทะลุในเนื้อ
  • มีน้ำหนักน้อยกว่าเพชร

(สามารถอ่านบทความ วิธีแยกเพชรธรรมชาติกับCVD ได้ที่ลิ้งนี้)

เลือกชมเพชร CVD (Lab Grown Diamond) และ เครื่องประดับของเราได้ที่นี่

ผู้เขียนบทความ

ขออภัย! ไม่สามารถคัดลอกข้อความได้