การประเมินคุณภาพเพชรด้วย 4C

 

1. ความหมายของ 4C

     เพชรถือเป็นอัญมณีที่มีค่า และ มีความต้องการทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการกำหนดระบบสากลในการประเมินคุณภาพเพชรขึ้นมา เพื่อกำหนดราคา สร้างคำที่ใช้นิยามเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน และยังช่วยจัดระเบียบเกรดเพชรแต่ละเม็ด ให้เป็นมาตรฐานในการซื้อขาย ซึ่งใช้ได้เป็นสากลทั่วโลก โดยวิธีการตรวจสอบเพชรแบ่งออกเป็น 4 หมวดหมู่หลักๆเรียกว่า 4Cs คือ

  1. COLOR เฉดสีและระดับสีของเพชร
  2. CARAT น้ำหนักอัญมณี (จุดนี้สำคัญและเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดมูลค่าที่สุด)
  3. CLARITY ความสะอาดและมลทินภายในเนื้อ
  4. CUTTING คุณภาพและวิธีการเจียระไน

 

1.1 COLOR

     โดยทั่วไป ยิ่งสีขาว ราคายิ่งสูง (ยกเว้นสีแฟนซี) D หรือ น้ำ100 เป็นเกรดขาวใสไร้สีที่สูงที่สุดและหายากที่สุด เมื่อเทียบกับเกรดรองลงมาไปทาง Z เฉดสีจะเข้มขึ้นและส่งผลให้ราคาลดลง สามารถดูมาตราส่วนการจัดระดับสีของ GIA (Gemological Institute of America) ด้านล่าง ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2493 พึงละลึกไว้เสมอว่าการดูสีของเพชรจะทำในกรณียังไม่ฝังบนเครื่องประดับเท่านั้น เพราะ สีของตัวเรือนจะทำให้เม็ดเพชรมีสีที่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงได้

ตารางน้ำ/สี

อักษร

ตัวเลข

D

100

E

99

F

98

G

97

H

96

I

95

J

94

K

93

L

92

M

91

 

กลุ่ม

น้ำ

Colorless

D E F

Near Colorless

G H I J

Faint yellow

K L M

Very light yellow

N TO R

Light yellow

S TO Z

Fancy yellow

Z+

 

     เพชรที่มีสีตามธรรมชาติที่ไม่ใช่สีเหลืองอ่อน สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเทาอ่อน จะเรียกว่าเพชรสีแฟนซี เพชรสีเหล่านี้อาจมีราคาสูงกว่าเพชรที่ไม่มีสี ตัวอย่างเช่น เพชรสีชมพูธรรมชาติหนึ่งกะรัตสามารถขายได้มากกว่าเพชร D color ที่มีขนาดและคุณภาพเท่ากันห้าถึงสิบห้าเท่า ซึ่งเพชรสีแฟนซีจะให้คะแนนเพชรในตำแหน่งหงายหน้า เนื่องจากการเจียระไนสามารถส่งผลต่อสีที่ปรากฏ และเนื่องจากราคาของเพชรแฟนซีขึ้นอยู่กับสีที่หงายหน้า ดังนั้นสียิ่งเข้มราคาก็จะยิ่งสูง

เพชร-gia-น้ำ-สี-100-d

น้ำ D – 100

เพชร-gia-น้ำ-สี-99-e

น้ำ E – 99

เพชร-gia-น้ำ-สี-98-f

น้ำ F – 98

เพชร-gia-น้ำ-สี-97-g

น้ำ G – 97

เพชร-gia-น้ำ-สี-96-h

น้ำ H – 96

เพชร-gia-น้ำ-สี-95-i

น้ำ I – 95

เพชร-gia-น้ำ-สี-94-j

น้ำ J – 94

เพชร-gia-น้ำ-สี-93-k

น้ำ K – 93

เพชร-gia-น้ำ-สี-92-l

น้ำ L – 92

เพชร-gia-น้ำ-สี-91-m

น้ำ M – 91

เพชร-gia-น้ำ-สี-90-n

น้ำ N – 90

1.2 CARAT

     ในกรณีส่วนใหญ่ หากเพชร 1 เม็ดยิ่งมีน้ำหนักมาก ราคาต่อกะรัตของเพชรก็จะยิ่งสูงขึ้นด้วย  โดยคำว่า กะรัต เป็นหน่วยน้ำหนักเท่ากับ 1/5 ของกรัม น้ำหนักของเพชรขนาดเล็กมักแสดงเป็นหน่วยสตางค์ โดยหนึ่งหน่วยสตางค์มีค่าเท่ากับ 0.01 กะรัต (กะรัต) 

  • 100 สตางค์ = 1.00 กะรัต
  • 1 กะรัต = 0.2 กรัม
  • 5 กะรัต = 1 กรัม

 *โดย 1 ctw แปลว่าน้ำหนักรวม 1 กะรัต

     ในการคำนวณราคารวมของเพชร ให้ใช้สมการ : ราคารวมของเพชร = น้ำหนัก(กะรัต) x ราคาเพชรต่อกะรัต

หมวดหมู่น้ำหนักของเพชร

0.01-0.03 ct

0.30-0.37 ct

0.96-0.99 ct

0.04-0.07 ct

0.38-0.45 ct

1.00-1.49 ct

0.08-0.14 ct

0.46-0.49 ct

1.50-1.99 ct

0.15-0.17 ct

0.50-0.69 ct

2.00-2.49 ct

0.18-0.22 ct

0.70-0.89 ct

2.50-2.99 ct

0.23-0.29 ct

0.90-0.95 ct

3.00-3.99 ct

     โดยหมวดหมู่ด้านบนอิงจาก การจัดหมวดหมู่ราคาของ RAPAPORT DIAMOND เป็นหลัก โดยปกติระดับราคาแต่ละช่วงชั้นที่เพชรเม็ดใหญ่ขึ้นอาจจะสูงขึ้นกว่าชั้นที่เพชรเม็ดเล็กกว่าได้5%-50% ยิ่งเพชรมีขนาดใหญ่มาก ช่วงราคาจะยิ่งห่างขึ้น เนื่องจากเพชรยิ่งเม็ดใหญ่ ยิ่งหาได้ยาก และ จากความต้องการของตลาดที่มากขึ้นด้วย

 

1.3 CLARITY

     หมายถึงความสะอาดของเพชร ที่เป็นตัววัดระดับของตำหนิหรือสิ่งแปลกปลอมในเนื้อเพชรและยังนับรวมถึงผิวนอกได้ด้วย ซึ่งถูกจัดไว้โดย GIA แบ่งเป็น 6 หมวดหมู่หลัก และ 11 ระดับย่อย ตามตัวอย่างด้านล่างนี้ ซึ่งปัจจัยด้านความสะอาดมีผลต่อความสวยงามของเพชร เพราะยิ่งหากมีตำหนิมาก การหักเหของแสงจะทำได้น้อยลง ทำให้เปล่งประกายได้น้อยลงด้วย

Gia Clarity Grades

*มาตรฐานการตรวจสอบด้วยกล้องกำลังขยาย 10 เท่า

สัญลักษณ์

ความหมาย

FI

ไร้ตำหนิใดๆแม้ผิวนอก

IF

ภายในเนื้อไร้ตำหนิ

VVS1

VVS2

ตำหนิเล็กน้อยมากๆ มองเห็นได้ยากมากแม้ใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า

VS1

VS2

ตำหนิเล็กน้อย มองเห็นได้ยากแม้ใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า

SI1

SI2

ตำหนิเห็นได้ง่าย แม้มองด้วยตาเปล่า

I1 / P1

I2 / P2

I3 / P3

ตำหนิเห็นได้ชัดเจน อาจมีการแตก บิ่น ร้าว

 

เพชร-gia-เกรด-ความสะอาด-if

เกรด IF

เพชร-gia-เกรด-ความสะอาด-vvs1

เกรด VVS1

เพชร-gia-เกรด-ความสะอาด-vvs2

เกรด VVS2

เพชร-gia-เกรด-ความสะอาด-vs1

เกรด VS1

เพชร-gia-เกรด-ความสะอาด-vs2

เกรด VS2

เพชร-gia-เกรด-ความสะอาด-si1

เกรด SI1

เพชร-gia-เกรด-ความสะอาด-si2

เกรด SI2

1.4 CUTTING

     ปัจจุบันเพชรรูปทรงกลมมีราคาสูงกว่ารูปทรง มาคี หยดน้ำ หรือ มรกต เพราะราคาขึ้นอยู่กับความต้องการในตลาด ซึ่งปัจจุบันนิยมทรงกลมต่างจากในอดีตที่นิยมทรงมาคี โดยปกติแล้วเพชรทรงคู่ชั่น (สีเหลี่ยมขอบมน) อาจมีราคาต่ำกว่าทรงกลมถึง 15-30% เนื่องจากการเจียระไนทรงสี่เหลียมจากก้อนดิบสามารถรักษาเนื้อเพชรได้ค่อนข้างดี ซึ่ง GIA ได้แบ่งรูปแบบการเจียระไนประเภทหลักๆ ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้

 

1.4.1 Brilliant Cut

     หมายถึงเพชรที่มีด้านหน้าประกอบด้วย เหลี่ยม Triangular kite,lozenge ที่เปล่งประกายออกด้านนอก ในการค้าเครื่องประดับโดยทั่วไป มักหมายถึงเพชรรูปทรงกลมที่มี 58 เหลี่ยม ที่เจียระไนแบบ Full Cuts หรือ Round Briliants

เจียระไน-เกสร-brilliant-cut

1.4.2 Step Cut

     หมายถึงรูปแบบการเจียระไนที่มีลีกษณะเป็นแถวแบ่งเป็นขั้นๆเมื่อมองส่วนหน้าเพชร ซึ่งแถวมักมีลักษณะขนานกับแนวขอบ Girdle โดยหากมีการเจียระไนตัดขอบมุมจะเรียกว่า Emerald Cuts เนื่องจากมรกตมักเจียระไนด้วยวิธีนี้ โดยทั่วไปเพชรที่เจียระไนด้วยวิธีนี้มักมีลักษณะทรงสี่เหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า และ อาจพบสามเหลี่ยมได้บ้าง

stepcut-เจียระไน-เหลี่ยม-ชั้น-ขั้นบันได

1.4.3 Mix Cut

     หมายถึงการเจียระไนทั้งแบบ Briliants Cuts และ Step Cuts รวมอยู่ในอัญมณีเม็ดเดียว โดยมักให้ด้านล่างเจียระไนแบบ Step Cuts และครึ่งบนเจียระไนแบบ Briliants Cuts ซึ่งวิธีนี้มักพบมากในอัญมณีอื่นๆเช่น ทับทิม ไพลิน มากกว่าเพชร

     ราคาของเพชรจะแตกต่างกันตามแต่การเจียระไน เช่น เพชรทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส Briliants Cut ก็มักมีราคามากกว่าเพชรทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่เจียระไน Step Cuts เนื่องด้วยความสวยงามและการเปล่งประกายของเหลี่ยมที่มากกว่า (สามารถอ่านบทความ รูปทรงต่างๆของเพชร ได้ที่ลิ้งนี้)

mixcut-เจียระไน-เหลี่ยม-ผสม

 

เลือกชมเพชร CVD (Lab Grown Diamond) และ เครื่องประดับของเราได้ที่นี่

ผู้เขียนบทความ

ขออภัย! ไม่สามารถคัดลอกข้อความได้