วิธีการดูแลรักษาเพชร

     แม้ว่าเพชรจะมีความคงทนต่อหลายปัจจัย แต่สิ่งที่เราควรคำนึงถึงมากกว่านั้นคือตัวเรือน ที่เพชรมักถูกประดับใน เงิน ทองคำ แร่ธาตุเหล่านี้มักจะทนทานต่อสภาวะความเป็นกรดในชีวิตประจำวันทั่วไปที่แม้สัมผัสแต่มักทำให้มีแวววาวมากขึ้น แต่หากถูกกรดมากก็จะทำให้สีซีดลงได้ แต่ไม่ทนทานต่อสภาวะด่างอย่างมาก การใส่โลหะ ลงน้ำทะเล หรือ ฉีดพ่นด้วยน้ำหอม มักทำให้เครื่องประดับมีสีเปลี่ยนแปลง เป็นดวงๆ สีด่างพล้อย และการกระแทก เงิน หรือทอง อย่างแรงมักทำให้โลหะเสียรูปทรง อาจทำให้เพชรที่ฝังอยู่หลุดหายได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรระวังมากกว่าคือเรื่องของตัวเรือน

 

1. ภัยจากอุณภูมิ

     เพชรเป็นอัญมณีที่ทนความร้อนได้สูง จากสภาวะการกำเนิดของเพชรที่มีอุณภูมิกว่าพันองศา และมีคุณสมบัติในการถ่ายเทความร้อนได้เร็ว(จะพบว่าเมื่อสัมผัสเพชรจะเย็นกว่าวัสดุทั่วไป) ดังนั้นการใช้งานทั่วไปจึงไม่มีความกังวลเรื่อง อุณภูมิที่เย็นจัด และ ร้อนจัด จะส่งผลถึงคุณภาพของเพชร ยกเว้นเพชรแฟนซีที่หากถูกความร้อนในอุณภูมิสูงมากระดับ100องศาขึ้นไป จะเกิดการเปลี่ยนสีได้และสีจะไม่เปลี่ยนคืนดังเดิม

การดูแล-รักษา-เพชร-ความร้อน-ละลาย

 

2. ภัยจากการกระแทก

     เราต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่าแรงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเพชรนั้น แบ่งได้ 2 แรงหลักๆ คือ

  1. แรงกระแทก คือค่าที่วัตถุมีความสามารถในการดูดซัพแรงที่มากระทบวัตถุแล้วไม่มีการแตกหัก แยกตัวของโมเลกุล ยังคงมีการยึดตัววัตถุในสภาพเดิม เช่นเราใช้ค้อนทุบเพชร หรือทำแหวนเพชรหล่นจากที่สูง 
  2. แรงขีดข่วน คือ วัตถุที่มีความแข็งมากกว่าสามารถขูดวัตถุที่มีความแข็งน้อยกว่าให้เป็นรอยได้ และอัญมณีที่มีความแข็งเท่ากันสามารถขูดกันเองให้เป็นรอยได้ นั้นหมายถึงเพชรนั้นเมื่อผ่านการใช้งานแล้วมีการขีดข่วนกับวัตดุอื่นก็ยากที่จะเป็นรอยยกเว้นเพชรนั้นขีดข่วนกันเอง

     ดังนั้นในการใช้งานจริงเราจะพบว่าเพชรแทบจะไม่มีการสึกหรอเลยแม้ผ่านการใช้งานมานานหลายสิบปี ยังคงมีประกายและความสวยงามคงเดิม เพราะวัตถุที่มาขีดข่วนในชีวิตประจำวันนั้นมักไม่แข็งเท่าเพชร แต่เราควรระวังเรื่องของการตกหล่น และ วัตถุที่มากระแทก เพราะเพชรนั้นยังคงแตกหักได้เช่นอัญมณีอื่น

การดูแล-รักษา-เพชร-แตก-บิ่น-หัก

 

3. ภัยจาก กรด-ด่าง

     เพชรสามารถสัมผัสน้ำสบู่ และทนทานต่อสภาวะกรด-ด่าง ทุกชนิด เราสามารถใส่เพชรลงในถังน้ำกรดโดยไม่เกิดผลใดๆ และ ห้ามทดลองกับอัญมณีชนิดอื่นอย่างเด็ดขาด ดังนั้นจึงไม่มีความเป็นกังวลเรื่องการใส่เพชรลงน้ำทะเล หรือ ถูกน้ำหอมและครีม แล้วจะทำให้ความสวยงามของเพชรลดลง (สามารถอ่านบทความ วิธีส่งเพชรเก่าไปเจียระไนใหม่ ได้ที่ลิ้งนี้)

การดูแล-รักษา-เพชร-กรด-ด่าง

 

เลือกชมเพชร CVD (Lab Grown Diamond) และ เครื่องประดับของเราได้ที่นี่

ผู้เขียนบทความ

ขออภัย! ไม่สามารถคัดลอกข้อความได้